กลุ่มโรคเรื้อรัง (NCDs) ประกอบด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน นับเป็นนักฆ่าชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คร่าชีวิตเกือบ 8 ล้านคนในแต่ละปี และหนึ่งในสามเกิดขึ้นในวัยอายุก่อน 60 ปี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มคนในวัยทำงาน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง NCDs เกิดจากพฤติกรรม การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารฟาสฟูด ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และดื่มสุรามากเกินไป โรงเรื้อรังส่งผลกระทบอย่างมากในกลุ่มคนยากจน การควบคุมและป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง NCDs ให้ได้ผลมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินการประสานงานทั่วทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ประชาสังคม สถาบันการศึกษา องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชน
9 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง (NCDs)
- ปัจจุบันทั่วโลก สาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 60% เกิดจากกลุ่มโรคเรื้อรัง (NCDs)กลุ่มโรคเรื้อรัง (NCDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 63% ของคนทั่วโลก (35 ล้านคน เสียชีวิตจาก NCDs จาก 57 ล้านคน)
- ประมาณ 80% ของผู้เสียชีวิตจาก NCDs อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
- มากกว่า 9 ล้านคนที่ต้องเสียชีวิตจาก NCDs ก่อนอายุ 60 ปี
- ทั่วโลก ผู้หญิง และผู้ชาย มีความเสี่ยงต่อ NCDs เท่ากัน
- โรคทั้งหมดของ NCDs สามารถป้องกันได้ กลุ่มโรคเรื้อรัง NCDs สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดอาหารขยะ เพิ่มการออกกำลังกาย ไม่ดื่มสุรา
- ในปี 2008 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี มีภาวะอ้วนสูงถึง 1.5 พันล้านคน
- ในปี 2010 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะอ้วนสูงถึง 43 ล้านคน
- การสูบบุหรี่ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ 6 ล้านคนต่อปีในปี 2020 ตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.5 ล้านคนต่อปี นับเป็น 10% ของการเสียชีวิตทั้งหมด
- การลดปัจจัยเสี่ยงของการก่อโรค NCDs เป็นการป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด
ถ้าหากสามารถกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรค NCDs ได้ จะลดการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 75% และลดการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 40%
ขอขอบคุณข้อมูล: องค์การณ์อนามัยโลก http://www.who.int/features/factfiles/noncommunicable_diseases/facts/en/
ร.อ. นพ. พันเลิศ ปิยะราช
ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ
ผู้ประพันธ์
นพ. ชัยยศ คุณานุสนธิ์
ระบาดวิทยาคลินิค
ที่ปรึกษา