การรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันมีการใช้ยาหลายชนิดในการรักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาในกลุ่มไบฟอสโฟเนต ยาออกฤทธิ์ที่ตัวรับเอสโตรเจน แคลซิโทนิน และพาราไทรอยด์ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของคนเราจะ มีการสะสมเพิ่มปริมาณของมวลกระดูก หรือเนื้อกระดูกอยู่ตลอดเวลา มวลกระดูกจะคงที่อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนถึงช่วงอายุประมาณ 35 – 40 ปี ระดับมวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ ประมาณร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีทั้งในเพศหญิง และเพศชาย แต่ในเพศหญิงภาวะหมดประจำเดือนจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเร็วขึ้นถึงร้อยละ 3 – 5 ต่อปีเมื่อการทำลายกระดูกเร็วกว่าการเสริมสร้างในระยะแรกๆการ เปลี่ยนแปลงจะเกิดที่กระดูกชั้นในก่อน รูพรุนคล้ายฟองน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น อันเป็นผลมาจากปริมาณแคลเซียมและโปรตีนในกระดูกลดลง จนกระทั่งกระดูกมีความหนาแน่นน้อยผิดปกติ เรียกว่าโรคกระดูกพรุน หญิงวัยหมดระดูซึ่งมีอายุเฉลี่ย 50 ปีที่มีภาวะกระดูกพรุน มักมีปัญหาเรื่องกระดูกแตกหักง่าย ทั้งจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือหกล้มเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน

เอสโตรเจน

1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ใช้สำหรับสตรีที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ผ่าตัดมดลูก และรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี ผู้ที่ตรวจพบว่าความหนาแน่นของกระดูกผิดปกติ
2. กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นการลดอัตราการทำลายเนื้อกระดูก ช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้มากถึงร้อยละ 50-70 เมื่อใช้ยาไปนานสิบปี
3. ขนาดที่ใช้วันละ 0.3-0.625 มิลลิกรัม
4. ชนิดรับประทาน ได้แก่ premarin, estrace, estratest ชนิดแผ่นแปะ ได้แก่ estraderm, vivelle

ยาในกลุ่มไบฟอสโฟเนต

1. alendronate และ risedronate เป็นยาในกลุ่มไบฟอสโฟเนต ใช้รักษาภาวะกระดูกพรุนที่เกิดการใช้สเตียรอยด์
2. ออกฤทธิ์โดยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดการทำลายเนื้อกระดูก
3. ยาที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ alendronate (fosamax) และ risedronate (actonel)
4. การใช้ยาทั้งสองนี้ต้องรับประทานตอนกระเพาะว่าง ไม่ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารก่อนกินยา 30 นาที และ 30 นาทีหลังกินยา

ยาออกฤทธิ์ที่ตัวรับเอสโตรเจน

1. raloxifine (evista) เป็นยาในกลุ่ม selective estrogen receptor modulator (SERM) ออกฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน
2. ใช้ได้ทั้งเพื่อรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนในขนาดวันละ 60 มิลลิกรัม
3. ปัจจุบันยากลุ่มนี้ใช้ได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยสตรีวัยหมดประจำเดือน ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
4. ควรใช้ร่วมกับการเสริมแคลเซี่ยมและวิตามินดี ในกรณีที่รับประทานไม่เพียงพอ

แคลซิโทนิน

1. calcitonin-salmon (calcimar, miacalcin) เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นให้มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับฮอร์โมนแคลซิโทนินที่พบในปลาแซลมอน
2. รูปแบบฉีดในขนาดวันละ 50-100 หน่วย
3. ส่วนชนิดยาพ่นจมูกใช้ในขนาด 200 หน่วยต่อวัน

พาราไทรอยด์ฮอร์โมน

1. พาราไทรอยด์ฮอร์โมนชนิดสังเคราะห์ (forteo) เป็นยาฉีดใช้ในสตรีวัยหมดประจำเดือนกลุ่มเสี่ยง
2. ขนาดที่ใช้ 29 ไมโครกรัมวันละครั้งเป็นเวลานาน 24 เดือน
3. ออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
4. สามารถใช้ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

การป้องกัน

การ ที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้น ไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นการรักษาให้กระดูกคงสภาพ ไม่บางและพรุน ควรจะเน้นหนักที่การป้องกัน ซึ่งมี 2 วิธี คือการเสริมสร้างให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่นมากก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู และการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่ง เป็นเพียงการชะลอการเสื่อม และบางพรุนของกระดูกเท่านั้น ร่วมกับการให้โภชนาการที่ถูกต้อง หมายถึง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นมและเนื้อสัตว์ รวมกับวิตามินที่เร่งการดูดซึมคือ วิตามิน ดี และ ซี และร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งข้อแนะนำดังกล่าวจะขอรับบริการได้จากคลีนิควัยทอง ซึ่งเป็นคลีนิคที่ให้การบริการดูแลรักษาสำหรับสตรีวัยหมดระดูโดยเฉพาะ ท่านที่ถึงวัยใกล้ที่จะหมดประจำเดือน ท่านควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเตรียมตัวที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ เพื่อว่าสิ่งใดที่ป้องกันได้ ท่านก็สามารถประพฤติปฏิบัติตัวไปได้เลย ไม้ต้องรอให้เข้าสู่วัยทองเสียก่อน จึงเริ่มไปรับคำแนะนำปรึกษา ซึ่งบางครั้งก็สายเกินไปเสียแล้ว

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top