การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (รีไซเคิล)

การรีไซเคิล หรือการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้เหลือพอการใช้ของประชากรโลกในอนาคต ท่านอาจจะคุ้นเคยกับการรีไซเคิลกระดาษหนังสือพิมพ์ซึ่งมีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วในต่างประเทศ ในเมืองไทยท่านอาจจะได้ฟังข่าวเกี่ยวกับการประกวดหรือการแข่งขันการนำวัสดุเหลือใช้มา โดยมาจากสิ่งประดิษฐ์ที่จะเกิดประโยชน์ในการใช้สอยต่อไปแทนที่ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์

ในปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการทำรีไซเคิลมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น

  • กระดาษหนังสือพิมพ์ นำไปรีไซเคิลใช้ทำ กระดาษหนังสือพิมพ์อีกครั้งและทำกระดาษใช้งานทั่วๆ ไป
  • แก้วนำไปรีไซเคิลใช้ทำ ขวดแก้วใหญ่ ไฟเบอร์กลาส แอสฟัลท์
  • เหล็กนำไปรีไซเคิลใช้ทำ อุปกรณ์เหล็กต่าง ๆ
  • อลูมิเนียมนำไปรีไซเคิลใช้ทำ กระป๋องอลูมิเนียม, กระดาษฟอยส์
  • พลาสติกนำไปรีไซเคิลใช้ทำ ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก , ของเล่นเด็ก วัสดุกันความร้อน
  • เศษไม้ใบหญ้า นำไปรีไซเคิลใช้ทำ ปุ๋ยหมัก

ในบางประเทศได้ตั้งเป็นเป้าประสงค์ของชาติในการใช้สิ่งของที่นำมารีไซเคิลเพื่อประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2535 ตั้งเป้าประสงค์ว่าจะลดขยะในเขตเมืองที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ จำนวน 25 % ซึ่งก็สามารถทำได้ใกล้เคียง ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละมลรัฐและเมืองเกือบทุกเมือง ชุมชนเกือบทุกแห่งได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเอาวิธีการรีไซเคิลมาใช้เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยก็มีการตื่นตัวและจัดตั้งองค์กรลักษณะเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการแยกขยะลงในภาชนะก่อนที่จะมีคนมาเก็บ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

หวังว่าพวกเราที่ได้มีโอกาสฟังหัวข้อเรื่องนี้ จนมาถึงตรงนี้ จะได้ช่วยกันปลุกจิตสำนึกของคนใกล้ชิดและบุตรหลานให้มีสัญชาติญาณแห่งการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ประเทศไทยจะลดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติลงไปได้บ้าง

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top