Image
โพสต์ 17 มี.ค. 2558 ปรับปรุง 17 มิ.ย. 2558 2934 Views

CDC ประกาศคู่มือคำแนะนำล่าสุดสำหรับการควบคุมโรค MERS-CoV ในโรงพยาบาล

CDC ได้ออกประกาศคำแนะนำสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคในผู้ป่วยในที่ป่วยด้วยโรค Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus (MERS-CoV)

คู่มือคำแนะนำดังกล่าวประกอบด้วยมาตรฐานการป้องกันโรคติดเชื้อจากการสัมผัส และจากทางอากาศ นอกจากนั้นในคู่มือฉลับล่าสุดนี้ได้เน้นความสำคัญการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลซึ่งรวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ยกตัวอย่างเช่น MERS-CoV ในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cdc.gov/coronavirus/mers/infection-prevention-control.html

Image

หลังจากสาธารณรัฐเกาหลีได้สำรวจการระบาดของเมอร์ส ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2015 ซึ่งถือว่าเป็นการระบาดที่ใหญ่ที่สุดของเมอร์สที่เกิดขึ้นนอกคาบสมุทรอาหรับ นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย สองรายที่ตรวจพบเชื้อ MERS-CoV เป็นผลบวกจากผู้ที่ตรวจเลือดทั้งหมดมากกว่า 500 ราย ในเดือนพฤษภาคม 2014

ปัจจุบัน CDC ยังคงติดตามสถานการณ์ MERS-CoV ทั่วโลกอย่างใกล้ชิด และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงของเชื้อไวรัสนี้ รวมทั้งแหล่งที่มาของโรค วิธีการแพร่กระจายเชื้อโรค รวมทั้งวิธีการควบคุมและป้องกันโรค

CDC ตระหนักถึงศักยภาพของไวรัส mers-COV ที่สามารถแพร่กระจายและระบาดไปยังส่วนต่างๆของโลกได้ โดยได้ให้ข้อมูลข่าวสารกับนักเดินทาง และประสานงานร่วมกับหน่วยงานสาธรณสุข โรงพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเรื่องนี้

ท่านสามารถติดตามอัพเดทสถานการณ์ของ MERS-CoV ได้โดยตรงที่ http://www.cdc.gov/coronavirus/mers/index.html

ขอขอบคุณ

Author

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

256 บทความ

ผู้ประพันธ์

คำสงวนสิทธิ์

รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือในเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เจตนาแนะนำข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค ตลอดจนไม่ใช่เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงไม่ขอรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลเกี่ยวกับยา โรค สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ บางส่วนยังไม่มีการรับรองผลของการใช้งาน รวมทั้งไม่มีหลักฐานรับรองที่สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูล ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลหรือปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพิ่มเติม หากมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ หรือการอ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ และศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลงรายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เป็นอย่างไร

26 กุมภาพันธ์ 2557 351

เกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัวแต่ตัวที่รุนแรงชื่อว่า “เอนเทอโรไวรัส 71” มักระบาดเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โรคนี้แพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยผ่านทางอุจจาระหรือละอองน้ำมูกน้ำลาย

โรคติดเชื้อ ไอ พี ดี (IPD ; Invasive Pneumocaccal Disease)

22 พฤษภาคม 2557 29

เกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ชื่อเต็มคือ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี่ (Streptococcus pneumoniae) เชื้อโรคชนิดนี้ เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในเด็ก มักพบการติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบการติดเชื้อรุนแรงในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

ต้องทำตัวอย่างไรให้แข็งแรง และปลอดภัย ในฤดูไข้หวัดใหญ่

11 มิถุนายน 2558 29

"ไข้หวัดใหญ่" เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามชีวิตในคนจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

แสดงความคิดเห็น

  1. Avatar
    Charles Haid
    1 มีนาคม 2558Reply
    ลูกรูปร่างอ้วนมีอาการนอนกรนไม่ทราบว่าเบื้องต้นควรรักษาอย่างไรครับ
    • Avatar
      BHRC
      1 มีนาคม 2558Reply
      ให้ลูกออกกำลังกายสม่ำเสมอซัก 1สัปดาห์ แล้วสังเกตุอาการกรนว่าลดลงหรือเปล่า ถ้าหากยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
  2. Avatar
    Terry McDonough
    3 พฤษภาคม 2558Reply
    ขอบคุณบทความดีๆ อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ
  3. Avatar
    Charles Haid
    12 พฤษภาคม 2558Reply
    อยากขอคำปรึกษาจากแพทย์ ติดต่อได้ทางไหนบ้างครับ

แสดงความคิดเห็น

ค้าหาข้อมูลสุขภาพ